หน้าหลัก ฐานข้อมูลวัด E-Book บาลีไวยากรณ์ พระไตรปิฏก ติดต่อเรา
พุทธบริษัท

หน้าหลัก / บาลีไวยากรณ์ / อักขระวิธี

สระในภาษาบาลี

สระในภาษาบาลี มีทั้งหมด 8 ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ สามารถออกเสียงได้ตามลำพังตัวเอง และทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ ชื่อว่านิสัย เพราะทำเป็นที่อาศัยของพยัญชนะทั้ง 33 ตัว

เสียงของสระ

สระ 8 ตัวมีมาตราเสียงต่างกันดังนี้
  • รัสสะ เสียงสั้น ได้แก่ อ อิ อุ เช่น อติ ครุ เป็นต้น
  • ทีฆะ เสียงยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ เช่น ภาคี วธู เสโข เป็นต้น
เอ โอ ถ้ามีพยัญชนะสังโยคซ้อนอยู่เบื้องหลัง จัดเป็นรัสสะ เช่น เสยฺโย โสตฺถี เป็นต้น

สระจัดเป็น 3 คู่

สระ 6 ตัวสามารถจัดเป็นคู่ได้ 3 คู่คือ
  • อ อา เรียกว่า อ วณฺโณ (เกิดฐานเดียวกัน คือ เกิดที่คอ)
  • อิ อี เรียกว่า อิ วณฺโณ (เกิดฐานเดียวกัน คือ เกิดที่เพดาน)
  • อุ อู เรียกว่า อุ วณฺโณ (เกิดฐานเดียวกัน คือ เกิดที่ริมฝีปาก)
ส่วน เอ กับ โอ เรียกว่า สังยุตตะสระ (เสียงผสม) เกิดใน 2 ฐาน

คำสำคัญ: ฐานกรณ์ - พยัญชนะ

สารบัญเว็บ

กิจกรรม
House
E-Book
พระอภิธรรม
บาลีไวยากรณ์
House
ธรรมศึกษา
House
ฐานข้อมูลวัด
House
พระสูตร
House
พระวินัย
พระวินัย
พระอภิธรรม
พระอภิธรรม