อกุศลจิต 12 ประเภท
อกุศลจิตเป็นกามาวจรจิตที่มีกิเลสเข้าประกอบ เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลหรือวิปากที่ตามมาคือความทุกข์ในภายภาคหน้า ในอภิธัมมถสังคหะแสดงอกุศลจิตไว้ 12 ประเภท แบ่งออกได้เป็น โลภมูลจิต8 โทสมูลจิต2 โมหมูลจิต2
โลภมูลจิต 8 ประเภท
โลภมูลจิตเป็นอกุศลจิตที่มี โมหะเจตสิก(ความหลง) และโลภะเจตสิก(ความโลภ)เข้าประกอบ ในอภิธัมมถสังคหะแสดงโลภมูลจิตไว้ 8 ประเภท บางประเภทมีเวทนาเป็นโสมนัสคือความสุขทางใจเกิดขึ้นร่วมด้วย บางประเภทมีเวทนาเป็นอุเบกขา บางประเภทมีความเเห็นผิด(ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) บางประเภทไม่มีความเห็นผิด(ทิฏฐิคตวิปปยุตต์) บางประเภทมีกำลังมากเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีการชักจูง (อสังขาริก) บางประเภทกำลังไม่มากเกิดขึ้นได้เพราะการชักจูง (สสังขาริก) แต่ทุกประเภทเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิปากที่จะตามมาในภายภาคหน้า
คำสำคัญ: โลภมูลจิต8 โลภะเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ อสังขาริก สสังขาริก
โทสมูลจิต 2 ประเภท
โทสมูลจิตเป็นอกุศลจิตที่มี โมหะเจตสิก(ความหลง) และโทสะเจตสิก(ความไม่พอใจ)เข้าประกอบ ขณะเกิดขึ้นมีความไม่สบายใจเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ในอภิธัมมถสังคหะแสดงโทสมูลจิตไว้ 2 ประเภท แตกต่างกันที่ประเภทแรกเป็นอสังขาริก(ไม่มีการชักจูง) อีกประเภทเป็นสสังขาริก(มีการชักจูง) ทั้ง 2 ประเภทเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิปากที่จะตามมาในภายภาคหน้า
คำสำคัญ: โทสมูลจิต2 โทสะเจตสิก อสังขาริก สสังขาริก
โมหะมูลจิต 2 ประเภท
โมหมูลจิตเป็นอกุศลจิตที่มีโมหะเจตสิก(ความหลง)เข้าประกอบ ในอภิธัมมถสังคหะแสดงโมหมูลจิตไว้ 2 ประเภท ประเภทแรกประกอบด้วยความฟุ้งซ้าน ประเภทที่สองประกอบด้วยความลังเลสงสัย ทั้ง 2 ประเภทเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิปากที่จะตามมาในภายภาคหน้า
คำสำคัญ: โมหมูลจิต โมหะเจตสิก อุทธัจจเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก
พระอภิธรรม 7 คัมภีร์
อภิธัมมัตถสังคหะ
ธัมมสังคณี
วิภังคปกรณ์
ธาตุกถา
ปุคคลบัญญัติ
กถาวัตถุ
ยมกปกรณ์
มหาปัฏฐาน