หน้าหลัก ฐานข้อมูลวัด E-Book สนทนาธรรม พระไตรปิฏก ติดต่อเรา
พุทธบริษัท

หน้าหลัก / พระอภิธรรม / อภิธัมมถสังคหะ

คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ

คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะเป็นคัมภีร์ระดับอรรถกถาที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 800 ถึง พ.ศ. 1200 รจนาขึ้นโดยพระอนุรุทธาจารย์ โดยท่านรวบรวมเนื้อหาสำคัญจากพระอภิธรรมปิฏก 7 คัมภีร์ และอรรถกถาพระอภิธรรม ถือเป็นคัมภีร์ที่สำคัญของพุทธศาสนาที่ช่วยให้การศึกษาพระอภิธรรมปิฏกง่ายขึ้น แบ่งออกเป็น 9 ปริเฉท คือ 1.จิตตสังคหวิภาค 2.เจตสิกสังคหวิภาค 3.ปกิณณกสังคหวิภาค 4.วิถีสังคหวิภาค 5.วิถีวิมุตตสังคหวิภาค 6.รูปสังคหวิภาค 7.สมุจจยสังคหวิภาค 8.ปัจจยสังคหวิภาค 9.กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
Ebook อภิธัมมถสังคหะ

ปริเฉทที่1 จิตตสังคหวิภาค
(จำแนกจิตเป็นหมวดหมู่)

จิตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดงจิตปรมัตถ์ทั้งหมด 121 ประเภท แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ตามภูมิของจิตคือ 1.กามาวจรจิต 2.รูปาวจรจิต 3.อรูปาวจรจิต 4.โลกุตรจิต

ปริเฉทที่2 เจตสิกสังคหวิภาค
(จำแนกเจตสิกเป็นหมวดหมู่)

เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดงเจตสิกปรมัตถ์ (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) ทั้งหมด 52 ประเภท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1.อัญญสมานเจตสิก 2.อกุศลเจตสิก 4.โสภนเจตสิก
คำสำคัญ: อัญญสมานเจตสิก อกุศลเจตสิก โสภนเจตสิก

ปริเฉทที่3 ปกิณณกสังคหวิภาค
(จำแนกจิต และเจตสิกเป็นหมวดหมู่โดยทั่วไป)

ปกิณณกสังคหวิภาค รวมรวมแสดงสภาพธรรมของ จิต เจตสิก โดยแบ่งเป็น 6 หมวด คือ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
คำสำคัญ: เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ วัตถุ

ปริเฉทที่4 วีถีสังคหวิภาค
(จำแนกวิถีจิตเป็นหมวดหมู่)

วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดงวิถีจิต 6 ประเภทคือ ปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี นอกจากนี้ยังจำแนกตามอามรมณ์เป็น 6 ประเภทคือ อติมหันตารมณ์ มหันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อติปริตตารมณ์ วิภูตารมณ์ และอวิภูตารมณ์
คำสำคัญ: ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี อติมหันตารมณ์ มหันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อติปริตตารมณ์ วิภูตารมณ์ อวิภูตารมณ์

ปริเฉทที่5 วีถีมุตตสังคหวิภาค
(จำแนกจิตที่พ้นจากวิถีเป็นหมวดหมู่)

วีถีมุตตสังคหวิภาค รวมรวมแสดงจำแนกจิตที่พ้นจากวิถีแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่คือ ภูมิ4 ปฏิสนธิ4 กรรม4 และการอุบัติแห่งมรณะ4
คำสำคัญ: ภูมิ4 ปฏิสนธิ4 กรรม4

ปริเฉทที่6 รูปสังคหวิภาค
(จำแนกรูปเป็นหมวดหมู่)

รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดงรูปปรมัตถ์ทั้งหมด 28 ประเภท แบ่งออกเป็นมหาภูตรูป4 (ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) และอุปาทายรูป24 (รูปที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยลำพัง ต้องอาศัยมหาภูตรูปเกิด)
คำสำคัญ: รูป28 มหาภูตรูป4 อุปาทายรูป24

ปริเฉทที่7 สมุจจยสังคหวิภาค
(จำแนกหัวข้อธรรมเป็นหมวดหมู่)

สมุจจยสังคหวิภาค รวมรวมแสดงจำแนกข้อธรรมเป็นหมวดหมู่อย่างกว้าง จิต เจตสิก นิปผันนรูป18 นิพพาน และประมวลธรรม 4 หมวดคือ อกุศลสังคหะ มิสสกสังคหะ โพธิปักขิยสังคหะ และสรรพสังคหะ
คำสำคัญ: จิต เจตสิก นิปผันรูป นิพพาน

ปริเฉทที่8 ปัจจยสังคหวิภาค
(จำแนกปัจจัยเป็นหมวดหมู่)

ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดงปัจจัย หรือธรรมที่อุปการะแก่สังคตธรรมทั้งหลายเป็นหมวดหมู่ โดยแสดงเป็น 2 นัย คือ ปฏิจสมุปบาทนัย และปัฏฐานนัย (ปัจจัย24)
คำสำคัญ: ปฏิจสมุปบาท ปัฏฐาน

ปริเฉทที่9 กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
(จำแนกกรรมฐานเป็นหมวดหมู่)

กัมมัฏฐานสังคหวิภาค รวมรวมแสดงจำแนกกรรมฐานเป็นหมวดหมู่ คือ สมถกรรมฐาน40 และวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงแสดงผลของการเจริญสมถกรรมฐานซึ่งทำให้เกิดฌานสมาบัติ และอภิญญา และผลของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นผลให้เกิดวิปัสสนาญาณ16
คำสำคัญ: สมถกรรมฐาน40 วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนาญาณ16

พระอภิธรรม 7 คัมภีร์

อภิธัมมัตถสังคหะ
House
ธัมมสังคณี
พระอภิธรรม
วิภังคปกรณ์
House
ธาตุกถา
House
ปุคคลบัญญัติ
House
กถาวัตถุ
House
ยมกปกรณ์
พระวินัย
มหาปัฏฐาน
พระอภิธรรม